ทางคณะกรรมการวิชาการที่ 967 ได้ริเริ่มโครงการ TQS (Thai Quality Software) ซึ่งเป็น
โครงการให้การฝึกอบรมแนะนำเพื่อปรับปรุงกระบวนการตามมาตรฐานที่ได้ประยุกต์จากมาตรฐาน
สากล ISO 12207 ด้วยจุดเริ่มต้นจากจุดนี้ คณะกรรมการวิชาการที่ 967 ได้เข้าร่วมกับกลุ่ม ISO/IEC
SC7 ที่ทำหน้าที่ในการยกร่างมาตรฐานระดับสากลด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์และระบบ จากความ
ร่วมมือนั้นได้จัดตั้งกลุ่มคณะกรรมการทำงานขึ้นมาเพื่อการวิจัย พัฒนา และเผยแพร่มาตรฐานวิศวกรรม
ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรขนาดกลางและเล็กที่เรียกว่า ISO 29110 Software Engineering-Lifecycle
Profiles for Very Small Enterprises (VSE)
ISO 29110 เป็นแนวคิดยุคใหม่ของ ISO ที่จะเน้นการเติบโตของอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กรวมทั้งผู้ประกอบใหม่ที่เข้ามาให้มีโอกาสในการแข่งขันตามแนวทางการพัฒนาฯ Outsourcing ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ได้ถูกทำให้เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและมีความสลับซับซ้อนยุ่งยากในการปฏิบัติตาม ประกอบกับมาตรฐานซอฟต์แวร์ระดับสากลที่มีอยู่ในปัจจุบันจะหมาะสมกับการปฏิบัติงานขององค์กรขนาดใหญ่ ISO 29110 จึงถูกพัฒนาด้วยแนวคิดพื้นฐานเพื่อสนับสนุนองค์กรขนาดเล็กให้มีโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการและรับรองคุณภาพในระดับสากลกระบวนการของ ISO 29110เนื่องจากสัดส่วนทางการตลาดของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก จึงทำให้หน่วยงานทางภาครัฐและเอกชนยังมีความเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องการสร้างคุณภาพผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆในตลาดอาเซียนได้1 ดังนั้นจึงได้ริเริ่มสนับสนุนมาตรฐานที่จะสามารถตอบสนองกระบวนการควบคุมคุณภาพอย่างดีสำหรับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ขนาดเล็กคือมาตรฐาน ISO/IEC 29110 หรือ Software Life Cycle Profiles and Guidelines for Very Small Entities (VSEs) standards
ทาง ISO 29110 ได้ให้ความสำคัญในกระบวนการที่จะต้องทำการปรับปรุงให้เป็นระบบและ
เป็นสากล 2 กระบวนการหลัก คือ กระบวนการด้านการบริหารโครงการ (Project Management) และ
กระบวนการด้านการสร้างซอฟต์แวร์ (Software Implementation) ซึ่งจะประกอบด้วยกระบวนการย่อยๆ
ภายในอีก ทั้งสองกระบวนได้ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการขนาดเล็กจึงมีความเหมาะสม
ในการประยุกต์ใช้ได้ทันที โดยได้กำหนดขนาดของกระบวนการให้เหมาะสมกับองค์กรขนาดเล็ก จึง
ไม่สร้างปัญหาในการปรับใช้งานให้เข้ากับองค์กร
รูปแบบการพัฒนา ISO 29110 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น